PHRESS System By SWPC
ระบบเทคโนโลยีที่ใช้

Logistic Hardware
เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรื อระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุแท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ เช่น RFID Tag, RFID Card, RFID Artenna, RFID Label, RFID Tokens
RFID

ระบบ GPS จะบันทึกรายละเอียดการเดินทางแบบ OFF-LINE and ON-LINE เช่น เวลา ความเร็ว จุดจอด เส้นทาง ตลอดการเดินทาง ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ และส่งกลับมายัง PC อัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง
ประโยชน์ของ GPS แบบ Tracking
1. ทราบถึงปัจจุบัน สถานะต่างๆของสิ่งที่เราต้องการติดตามไม่ว่าจะเป็นคน หรือยานพาหนะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งในปัจจุบัน
2. ทราบถึงอดีต รายงานย้อนหลัง หลายๆอย่างในระบบยานพาหนะได้ เช่น
การคำนวณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน ระยะทางที่วิ่งต่อวัน เนื่องจาก ทั่วไป ระบบ Tracking GPS ส่วนใหญ่จะมีรายงานย้อนหลัง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สำหรับผู้ดูแลระบบ
3. เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง เนื่องจากในหลายๆผู้ผลิต Tracking GPs เราสามารถทราบตำแหน่งและความเร็วของยานพาหนะเราในปัจจุบันได้ ทำให้สามารถเตือนผู้ขับขี่ได้เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงบางผู้ผลิตสามารถมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติมายังผู้ควบคุม และไปยังพนักงานขับรถได้ทันทีที่มีปัจจัยเสี่ยงตามเงื่อนไข เช่น วิ่งเร็วเกินที่กำหนด หรือ วิ่งออกนอกเส้นทางที่วางแผนไว้
4. วางแผนเส้นทางทำงานล่วงหน้า ผู้ผลิต Tracking GPS บางรายระบบสามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนการเดินทางจะมาถึง และระบบสามารถวิเคราะห์แจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานนอกแผนที่วางไว้
5. ลดการทุจริต ผู้ผลิต Tracking GPS บางราย ระบบติดตามยานพาหนะ สามารถตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และสรุปการจอดของยาน พาหนะทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างดีในกรณี การขโมยน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแอบขายอะไหล่ได้
GPS Tracking

เป็นระบบเฉพาะสำหรับธุรกิจ Logistics และ Sypply Chain ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองกระบวนการในการทำงานมากที่สุด และรวมระบบงานอื่นๆ
ที่สำคัญเพื่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ERP (Enterprise Resource Planning) , CRM (Customer Relation Management), SCM (Supply Chain Management) System และระบบอื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ เช่น
H/R (Human Resource Management) จึงเป็นที่มาของระบบ "PHRESS"
P = Procurement/Procuring, People ware
H = Hardware, Human Resource
R = Reverse/Re-Engineering
E = Electronics/E-Business
S = Supply Chain
S = Software/System




การทำงานของระบบภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ที่นำสมัย ได้แก่
Cloud เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บ เซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำ งานนั้น
SOA (Service-oriented architecture) คือ การสร้างและพัฒนา ซอฟต์แวร์โดยใช้แนวคิดของ โครงสร้างของธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งมาจากแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจาก แนวคิดแบบ "รูปแบบ เป็นผลมาจาก การใช้งาน" (form follows function) ชุดของซอฟต์แวร์หนึ่งๆ ที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นต่อการใช้งานโดยจะปฏิบัติหน้าที่อยู่ระหว่างเฟส ของการพัฒนาระบบ (systems development) กับการควบรวมการประมวลผล (integration in computing) ระบบใดๆ ที่ถูกออกแบบบนนั้น จะประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบรวมการให้บริการ ซึ่งสามารถถูกนำมาใช้ได้กับระบบต่างๆที่หลากหลาย หรือ ระบบที่ถูกแบ่งแยกออกตาม หน่วยงานองค์กร หรือ ธุรกิจที่แตกต่างกัน
BIG DATA คือ ชุมนุมของชุดข้อมูลที่มีขนาดและความซับซ้อนมาก จนมันยากที่จะประมวลผลได้ด้วยเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ ความท้าทายนี้รวมถึงการจับบันทึก การจัดเก็บ การค้นหา การแบ่งปัน การวิเคราะห์ และการวาดภาพข้อมูล แนวโน้มของชุดข้อมูลต่างๆ ที่ใหญ่ขึ้นเป็นผลจากสารสนเทศเพิ่มเติมที่ได้มาจากการวิเคราะห์ชุดข้อมูลชุด ใหญ่ชุดเดียวของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เทียบกับชุดข้อมูลย่อยๆ หลายชุดที่แยกจากกันที่มีขนาดรวมกันแล้วเท่ากัน และอนุญาตให้ความเชื่อมโยงถูกค้นพบได้ เพื่อ หาแนวโน้มทางธุรกิจ ตัดสินคุณภาพของงานวิจัย ป้องกันโรค วิเคราะห์การอ้างอิงกฎหมาย ต่อสู้กับอาชญากรรม และบอกสภาพการจราจรตามเวลาจริง เป็นต้น
BYOD (Bring Your Own Device) คือ แนวโน้มทางเทคโนโลยี ที่พนักงานนำอุปกรณ์พกพาของตัวเองมาที่ที่ทำงาน และใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีการควบคุมการเข้าถึงของบริษัท เช่น อีเมล ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และฐานข้อมูล ไม่จำกัดอยู่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ด้วย (เช่น เว็บเบราว์เซอร์, โปรแกรมเล่นสื่อ, แอนตี้ไวรัส, เวิร์ดโพรเซสเซอร์) อาจช่วยให้ลดต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ให้พนักงน และอาจทำให้พนักงานมีผลิตภาพมากขึ้น
สัญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร โดยประกอบด้วยแท่งบาร์สีเข้มและช่องว่างสีอ่อนเรียงสลับกัน สัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์มีไว้ให้เครื่องอ่าน (Scanner) สามารถอ่านเพื่อรับ และส่งข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ
ชนิดของบาร์โค้ด
- GTIN 13 เป็นบาร์โค้ดที่ใช้ติดบนสินค้าสำหรับขายปลีกทั่วไป
- GTIN 14 เป็นบาร์โค้ดใช้สำหรับสินค้าค้าส่ง โดยสามารถบอกถึงความแตกต่างของหน่วยบรรจุภัณฑ์
- GS1-128 เป็นบาร์โค้ดที่สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร จึงสามารถบันทึกข้อมูลของสินค้าได้มาก เช่น หน่วยวัดต่างๆ,เลขหมายลำดับการขนส่ง,เลขหมาย batch/lot,วันหมดอายุและสถานที่ตั้ง เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนและระบบการสืบค้นย้อนกลับ (traceability) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Barcode

ด้วยระบบ "PHRESS" ซึ่งนำ Technology ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยช่วยให้ธุรกิจ Supply Chain มีการดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญช่วยลดความผิดพลาด, ความสูญเสีย และต้นทุนการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนการทำงาน Technology มีส่วนอย่างมากที่ช่่วยให้มีการพัฒนาะบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการของประเทศ (National Single Window) และพัฒนาต่อไปสู่ระบบข้อมูลระหว่างประชาคมอาเชียน (ASEAN National Single Window)